กทม. จับมือโยโกฮามา ชวนภาคเอกชนไทย-ญี่ปุ่น แลกเปลี่ยนเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
กทม. จับมือโยโกฮามา ชวนภาคเอกชนไทย-ญี่ปุ่น แลกเปลี่ยนเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
วันนี้ (18 ต.ค. 66) เวลา 09.00 น. นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ “The 3rd Workshop on Net Zero Emissions Business Opportunity under Bangkok-Yokohama City-to-City Program” ครั้งที่ 3 โดยมี นายโทรุ ฮาชิโมโต (Mr. Toru Hashimoto) ผู้อำนวยการสำนักการต่างประเทศเมืองโยโกฮามา นายยูทากะ มัตซูซาวา (Mr. Yutaka Matsuzawa) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศญี่ปุ่น. นายทาคูโระ ทาซากะ (Mr. TakuroTasaka) อัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย นายพรพรหม ณ.ส. วิกิตเศรษฐ์ ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายประพาส เหลืองศิรินภา ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม ผู้บริหารสำนักสิ่งแวดล้อม และผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐภาคเอกชน ร่วมประชุม ณ ห้องแมนดารินแกรนด์บอลรูม ชั้น 2 โรงแรมแมนดาริน กรุงเทพ เขตบางรัก และผ่านระบบออนไลน์
เป็นกิจกรรมหนึ่งที่สำคัญภายใต้โครงการความร่วมมือ City to City ระหว่างกรุงเทพมหานครและเมืองโยโกฮามา เพื่อขับเคลื่อนกรุงเทพมหานครให้เป็นเมืองที่มีความมุ่งพยายามปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี พ.ศ. 2593 และเป็นเมืองน่าอยู่สำหรับทุกคน ตามวิสัยทัศน์ระยะยาวของแผนแม่บทกรุงเทพมหานคร ว่าด้วย การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2564 – 2573 ในการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งกรุงเทพมหานครได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะเป็นเรื่องสำคัญของโลกและเทรนโลกไปในด้านนี้ โดยกรุงเทพมหานครได้ดำเนินงานหลายโครงการ เช่น 1. ร่วมมือกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ที่ได้ดำเนินโครงการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร เพื่อคำนวณการปล่อยคาร์บอน จากหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร (กทม.) โดยนำร่องใน 3 สำนักงานเขต คือ สำนักงานเขตดินแดง สำนักงานเขตบางขุนเทียน และสำนักงานเขตประเวศ ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จะขยายการดำเนินงานให้ครอบคลุมทั้ง 50 สำนักงานเขต
3. ความร่วมมือกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยในการดำเนินโครงการคัดแยกขยะในชุมชน ลดการใช้พลังงานไฟฟ้าในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร มีการให้คำแนะนำด้านการปรึกษาพลังงาน 4. โครงการปลูกต้นไม้ล้านต้นที่กรุงเทพมหานครได้รับการสนับสนุนที่ดีจากทุกภาคส่วนอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร เพิ่มการดูดซับก๊าซเรือนกระจกของเมือง ซึ่งปัจจุบัน กทม. ปลูกไปแล้วกว่า 6 แสนต้น ก็เกินเป้าหมาย และมีอีกหลายมาตรการที่ต้องทำร่วมกัน เชื่อว่าหัวใจของความสำเร็จของโครงการนี้ไม่อยู่ที่ภาครัฐ เพียงอย่างเดียว ภาคเอกชนต้องร่วมขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหา ซึ่งวันนี้ได้มีการทำจับคู่ทางธุรกิจ หรือ Business Matching ด้วย เพราะธุรกิจเป็นหัวใจของการแก้ปัญหา ภาครัฐเป็นผู้อำนวยความสะดวกและสร้างกฎระเบียบที่ยุติธรรม การลดการปล่อยคาร์บอน (Carbon Emission) ต้องมาจากภาคเอกชนเป็นหลัก เชื่อว่าการประชุมวันนี้จะเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม ข้อดีคือได้เรียนรู้จาก City to City เชื่อว่าเมืองโยโกฮาซึ่งได้ดำเนินโครงการมาแล้วและมีแนวทางแก้ไขที่ประสบความสำเร็จ ซึ่ง กทม. จะได้เรียนรู้ เพื่อเป็นทางลัดเรียนรู้จากข้อมูลที่มีอยู่แล้ว ขณะเดียวกันเราก็มีปัญหาของเราเอง ซึ่งเมืองโยโกฮามาอาจเรียนรู้จากกรุงเทพมหานครได้เหมือนกัน ต่างคนต่างเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เชื่อว่าจะเกิดประโยชน์สูงสุด การประชุมเชิงปฏิบัติการในวันนี้จะประสบความสำเร็จมากกว่าที่คาดหวังไว้
สำหรับความร่วมมือระหว่างกรุงเทพมหานคร และเมืองโยโกฮามา ประเทศญี่ปุ่น ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2556 ในการจัดทำบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการเรื่องการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน โดยเมืองโยโกฮามาได้ให้การสนับสนุนด้านเทคนิคและวิชาการในการส่งเสริมการพัฒนาสังคมคาร์บอนต่ำแก่กรุงเทพมหานครในด้านต่าง ๆ เช่น การจัดการพลังงาน การจราจรและขนส่ง การจัดการขยะและน้ำเสีย รวมถึงการดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภายใต้โครงการความร่วมมือ City-to-City ระหว่างกรุงเทพมหานครและเมืองโยโกฮามา เพื่อขับเคลื่อนกรุงเทพมหานคร ตามวิสัยทัศน์ระยะยาวของแผนแม่บทกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2564 – 2573 โดยได้ดำเนินโครงการ City-to-City Collaboration for Zero-Carbon Society ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกระทรวงสิ่งแวดล้อมของประเทศญี่ปุ่น
เช่น การจัดการพลังงาน การจราจรและขนส่ง การจัดการขยะและน้ำเสีย รวมถึงการดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภายใต้โครงการความร่วมมือ City-to-City ระหว่างกรุงเทพมหานครและเมืองโยโกฮามา เพื่อขับเคลื่อนกรุงเทพมหานคร ตามวิสัยทัศน์ระยะยาวของแผนแม่บทกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2564 – 2573 โดยได้ดำเนินโครงการ City-to-City Collaboration for Zero-Carbon Society ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกระทรวงสิ่งแวดล้อมของประเทศญี่ปุ่น
โดยในวันนี้เป็นการประชุม “The Workshop on Net Zero Emissions Business Opportunity under Bangkok-Yokohama City-to-City Program” ครั้งที่ 3 เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในกรุงเทพมหานคร และนำไปสู่การจับคู่ทางธุรกิจของฝ่ายไทย และฝ่ายญี่ปุ่น (Business Matching) โดยแบ่งกิจกรรมเป็น 4 ช่วง ประกอบด้วย 1. การบรรยายความก้าวหน้าของการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของกรุงเทพมหานครในปัจจุบันและอนาคต รวมถึงแผนการดำเนินงานเพื่อลดก๊าซเรือนกระจกของหน่วยงานสังกัดกรุงเทพมหานครเพื่อนำไปสู่องค์กรที่ปล่อย ก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (BMA Net Zero) 2.การบรรยายกรอบเนื้อหาภาพรวมของแผนปฏิบัติการพลังงานกรุงเทพมหานคร (Bangkok Energy Action Plan) และเปิดโอกาสรับฟังข้อเสนอแนะจาก ผู้เข้าร่วมการประชุมฯ 3. การบรรยาย “ตลาดคาร์บอนและความร่วมมือภายใต้กลไกข้อ 5 (Article 6) ของความตกลงปารีส (Paris Agreement) และโอกาสสำหรับภาคเอกชนของไทย” จากผู้แทนของฝ่ายไทยและ ฝ่ายญี่ปุ่น และ 4.การนำเสนอโอกาสเพื่อการเป็นเมืองปลอดคาร์บอนจากบริษัทฝ่ายไทยและญี่ปุ่น