ภาคการขนส่งที่ยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

          การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคขนส่งนั้นมีสัดส่วนสูงเมื่อเทียบกับภาคส่วนอื่นๆ ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับการขยายตัวของพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร ดังนั้น การส่งเสริมการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคขนส่ง จึงเป็นมาตรการที่กรุงเทพมหานครสามารถร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของภาคขนส่ง ซึ่งประกอบด้วยมาตรการหลักๆ ได้แก่ 1. มาตรการการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการส่งเสริมระบบการขนส่งสาธารณะ 2. มาตรการด้านยานพาหนะ 3. การสร้างความตระหนักของประชาชนในการเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางโดยใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้น สำหรับการคาดการณ์ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในภาคการขนส่งที่ยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ภายใต้แผนแม่บทกรุงเทพฯ พบว่า หากเป็นไปตามสถานการณ์ปัจจุบัน และไม่มีการดำเนินการใดๆ (Business as Usual: BAU) เพื่อที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแล้ว ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะเพิ่มขึ้นจาก 13.76 MtCO2e ในปี พ.ศ. 2556 ไปเป็น 17.91 MtCO2e ในปี พ.ศ. 2563 อย่างไรก็ตาม หากมีการดำเนินการตามแผนแม่บทฯ คาดว่าจะมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอยู่ที่ 14.91 MtCO2e ในปีพ.ศ. 2563 หรือคิดเป็นการลดลงของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกร้อยละ 16.75 และหากเปรียบเทียบผลจากการทบทวนการดำเนินงานแบบองค์รวม (Comprehensive Review) ในปัจจุบัน (ระหว่างปี พ.ศ. 2556-2559) พบว่า มีปริมาณการปล่อยก๊าซอยู่ที่ 12.41 MtCO2e ในปี พ.ศ. 2559 เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากสถานการณ์ที่ไม่มีการดำเนินการใดๆ (Business as Usual: BAU) ที่ 15.62 MtCO2e
0
ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (MtCO2e)

เป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคการขนส่งที่ยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

อยู่ระหว่างการจัดทำ

เป้าหมาย

0
ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (MtCO2e)

ในปีพ.ศ. 2563 หรือคิดเป็นการลดลงของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกร้อยละ16.75  เทียบกับกรณีไม่ดำเนินมาตรการใด ๆ ในปี พ.ศ. 2563 (17.91 MtCO2e)

ผลการดำเนินงาน

0
ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (MtCO2e)

ในปี พ.ศ. 2559 เทียบกับค่าการปล่อยก๊าชเรือนกระจกในกรณีไม่ดำเนินมาตรการใด ๆ ในปี พ.ศ. 2559 (15.62 MtCO2e)

มาตรการสนับสนุนการดำเนินงานในภาคการขนส่งที่ยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม