ภาคการวางแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

           กรุงเทพมหานครตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และประสบกับปัญหาน้ำทะเลหนุนสูงซึ่งเมื่อรวมกับปัญหาดินทรุดตัวอันเนื่องจากการใช้น้ำใต้ดินจึงทำให้มีสภาพเป็นพื้นที่เก็บกักน้ำ และเมื่อเกิดภาวะน้ำล้นตลิ่งจึงทำให้ก่อให้เกิดปัญหาน้ำท่วมบ่อยครั้ง มีการคาดการณ์ว่าเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศความเปราะบางของกรุงเทพมหานครต่อปัญหานี้จะเพิ่มสูงขึ้น และส่งผลให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจและสังคมเพิ่มขึ้น เนื่องจากปัญหาน้ำท่วมเป็นปัญหาสำคัญที่ต้องวางมาตรการปรับตัว ทางกรุงเทพมหานครจึงวางแผนดำเนินงานด้านการปรับตัวโดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะด้วยกัน ได้แก่ ระยะสั้น (1-3 ปี) ระยะกลาง (3-5 ปี) และระยะยาว (5-10 ปี) มาตรการการปรับตัวเหล่านี้จะช่วยป้องกัน หรือลดผลกระทบ หรือส่งผลให้มีการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานให้เหมาะสม เช่น การเพิ่มพื้นที่รับน้ำหรือการวางระบบข้อมูลเพื่อจัดการน้ำท่วมที่มีการเชื่อมต่อกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่นการสร้างถนนที่ปลอดภัย การฟื้นฟูคลองและอุโมงค์ระบายน้ำเพื่อป้องกันและบรรเทาปัญหาน้ำท่วม การพัฒนาพื้นที่เก็บกักน้ำเพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้ง การสร้างเขื่อนหินและการปลูกป่าชายเลน เพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง

           การวางแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต้องใช้วิธีการที่แตกต่างกันในการประเมินความก้าวหน้าของการทำงานภายใต้แผนแม่บทฯ เมื่อเปรียบเทียบกับภาคอื่น ๆ อีก 4 ภาคในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยโครงการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะได้รับการประเมินตามตัวชี้วัดที่ใช้เป็นฐานอ้างอิง ตัวชี้วัดกิจกรรม/ตัวชี้วัดหลังสิ้นสุดโครงการ

มีเป้าหมายในปีพ.ศ. 2563 มุ่งสู่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการรองรับผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยได้จัดลำดับความสำคัญของความเปราะบางต่อภัยต่าง ๆ ได้แก่ อุทกภัย การกัดเซาะชายฝั่ง และภัยแล้ง

มาตรการสนับสนุนการดำเนินงานในภาคการวางแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ